วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552

งานจักสานย่านลิเภา

ย่านลิเภา
ย่านลิเภานี้เป็นศิลปเก่าแก่ของบรรพบุรุษเรา แล้วก็วัตถุดิบก็เกิดขึ้นเองภายในประเทศคือ ทางภาคใต้ที่ฝนตกมากตัวย่านลิเภานั่นก็คือเป็นวัชชพืชชนิดหนึ่งที่ข้นเอง รกโดยธรรมชาติ ใต้ต้นยาง ใต้สวนยางปิดดินให้ชุ่มชื้น และที่ภาคใต้ใช้ได้ดีเพราะว่าฝนตกมาก ทำให้เกิดความเหนียว ทำให้เส้นเหนียว และอย่ได้เป็นร้อยปี อันนี้ที่คนญี่ป่นบอกว่าป็นลักษณะพิเศษของย่านลิเภา ถ้าแม้นว่าทิ้งให้แก่กับต้นแล้ว ใยของเขาจะเหนียวอยู่ได้เป็นร้อยปี โดยที่ไม่มีตัวแมลงมากัดกินเลย เพราะฉะนั้นพูดได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเมืองไทย
ที่มาhttp://www.skn.ac.th/skl/project/sirigit/yui3.htm

งานจักสานย่านลิเภา

ย่านลิเภา หรือ ลิเภา เป็นเฟิร์นเถาชนิดหนึ่งในสกุล Lygodium เช่น Lygodium flexuosum (ลิเภาใหญ่) และ Lygodium circinatum (ลิเภาหางไก่) เป็นต้น พบได้มากทางภาคใต้ของไทย
ย่านลิเภาเป็นวัสดุสำคัญสำหรับงานสาน เช่น กระเป๋าย่านลิเภา
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%B2

งานจักสานย่านลิเภา

ย่านลิเภา
คนไทยรู้จักนำย่านลิเภามาสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋า มาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ แต่ได้หมดความนิยมไประยะหนึ่ง จนเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้ทอดพระเนตรเห็นเถาย่านลิเภาขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าจังหวัดนราธิวาส จึงทรงฟื้นฟูการจักสานด้วยย่านลิเภาขึ้น โดยหาครูผู้มีความชำนาญมาสอน
ย่านลิเภาเป็นต้นเฟิร์นประเภทเลื้อยชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นในป่าชุ่มชื้น เช่น ทางภาคใต้มี 2 ชนิด คือ สีน้ำตาลและสีดำ ย่านลิเภาที่จะนำมาจักสาน จะต้องแก่ได้ขนาด เมื่อเก็บมาแล้วต้องกรีดเปลือกดำๆที่หุ้มแกนข้างในออก แล้วฉีกเปลือกเป็นเส้นละเอียด นำไปขูดกับฝากระป๋องที่เจาะรูขนาดต่างๆกัน จนเส้นย่านลิเภาเล็ก เรียบและละเอียดตามต้องการ จากนั้นจึงนำมาสานเป็นกระเป๋าหรือสิ่งอื่นๆ โดยใช้หวายขั้นเป็นหุ่นรูปทรงตามต้องการ แล้วจึงนำย่านลิเภาไปสานเข้าโดยใช้เข็มสอดนำทาง
ที่มาhttp://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-7793.html

งานจักสานย่านลิเภา

ในพื้นที่ป่าภาคใต้ ของไทยเรามีไม้เลื้อยประเภท หนึ่งขึ้นอยู่อย่างสมบูรณ์ เถาของพันธุ์ไม้นี้มีคุณสมบัติคือความเหนียวและทนทาน เหมาะแก่การนำมา ประดิษฐ์จักสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ เถาไม้ชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า “ ย่านลิเภา” บรรพบุรุษไทยแต่อดีต นับเนื่องอย่างน้อยแต่ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์มีความรู้ความสามารถที่จะให้ย่านลิเภามาจักสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ ได้มากมายหลายชนิด เช่น เชียนหมาก พาน กระเป๋าหมาก เป็นต้น แต่ละชนิดยังมีวัตถุพยานอยู่ในสภาพดีจนทุกวันนี้นับว่าเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีความคงทนอย่างยิ่งและที่ยิ่งไปกว่านั้น คือความงดงามอย่างมีคุณค่า ยิ่งเมื่อผ่านการจักสานอย่างประณีตด้วยความอุตสาหะและตั้งอกตั้งใจแล้วเครื่องจักสานย่านลิเภาจะทรงความงามทัดเทียมกับงานประณีตศิลป์ประเภทอื่นๆทีเดียว เล่ากันว่าการใช้ประโยชน์จากย่านลิเภา เริ่มขึ้นก่อนทางภาคใต้อันเป็นแหล่งกำเนิดพืชพันธุ์ย่านลิเภา ได้มีการพบเครื่องจักสานย่านลิเภาที่เก่าแก่เป็นอันมากในแถบเมืองนครศรีธรรมราช จึงสันนิษฐานกันว่าความรู้ในการจักสานย่านลิเภาคงจะเริ่มต้นขึ้นในท่ามกลางความเจริญเมืองนครศรีธรรมราช ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์แล้วจึงแพร่หลายมาเป็นที่นิยมในกรุงเทพฯ ในราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ศิลปะการประดิษฐ์ตกแต่งย่านลิเภาได้พัฒนาขึ้นในระดับสูงมีการตกแต่งกระเป๋าหมากย่านลิเภาด้วยโลหะหรือวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ นาก เงินและงาช้าง
ที่มาhttp://www.boonyarat.com/boonyarat_th_yanlipao.html

งานจักสานย่านลิเภา

งานจักสานย่านลิเภาเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวนครศรีธรรมราชที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม เครื่องใช้ของใช้พื้นเมืองที่ทำด้วยย่านลิเภามาแต่โบราณ มีอาทิ กระเชอกุบหมาก กล่องยาเส้น พาน ป้านชา ย่านลิเภาเป็นเฟินเถาชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นในดินทรายบริเวณที่มีความชื้นสูง ใบมีสักษณะเล็กยาว ปลายมีแฉกคล้ายตีนจิ้งจก เถาของย่านลิเภาเมื่อนำมาลอกออกจะได้เปลือกเป็นเส้นบางๆ แต่เหนียวเวลาสานจะต้องให้หวายพันเป็นเส้นตั้งโครงภายใน แล้วจึงใช้เส้นลิเภาถักพันกับหวายขึ้นมาเป็นรูปทรงตามต้องการหากผูกลายโดยใช้ด้านนอกที่มีสีน้ำตาลเข้มสานสลับกับด้านนอกที่มีสีอ่อนกว่า ก็จะเกิดเป็นลายที่มีสีต่างกันทว่ากลมกลืนอย่างสวยงาม โดยเฉพาะยิ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติติ์ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำริ ให้ครูสอนการสานย่านลิเภา มาร่วมสอนในโครงการศิลปาชีพ จนกลายเป็นสินค้าหัตถกรรมที่เชิดหน้าชูตาของชาวนครศรีธรรมราชอีกอย่าง
งานจักสานย่านลิเภาเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวนครศรีธรรมราชที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม เครื่องใช้ของใช้พื้นเมืองที่ทำด้วยย่านลิเภามาแต่โบราณ มีอาทิ กระเชอกุบหมาก กล่องยาเส้น พาน ป้านชา ย่านลิเภาเป็นเฟินเถาชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นในดินทรายบริเวณที่มีความชื้นสูง ใบมีสักษณะเล็กยาว ปลายมีแฉกคล้ายตีนจิ้งจก เถาของย่านลิเภาเมื่อนำมาลอกออกจะได้เปลือกเป็นเส้นบางๆ แต่เหนียวเวลาสานจะต้องให้หวายพันเป็นเส้นตั้งโครงภายใน แล้วจึงใช้เส้นลิเภาถักพันกับหวายขึ้นมาเป็นรูปทรงตามต้องการหากผูกลายโดยใช้ด้านนอกที่มีสีน้ำตาลเข้มสานสลับกับด้านนอกที่มีสีอ่อนกว่า ก็จะเกิดเป็นลายที่มีสีต่างกันทว่ากลมกลืนอย่างสวยงาม โดยเฉพาะยิ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติติ์ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำริ ให้ครูสอนการสานย่านลิเภา มาร่วมสอนในโครงการศิลปาชีพ จนกลายเป็นสินค้าหัตถกรรมที่เชิดหน้าชูตาของชาวนครศรี
ที่มาhttp://www.nstlearning.com/~km/?p=1435

งานจักสานย่านลิเภา

ย่านลิเภานี้เป็นศิลปะเก่าแก่ของบรรพบุรุษเรา แล้วก็วัตถุดิบก็เกิดขึ้นเองภายในประเทศคือ ทางภาคใต้ที่ฝนตกมากตัวย่านลิเภานั่นก็คือเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่ขึ้นเอง รกโดยธรรมชาติ ใต้ต้นยาง ใต้สวนยางปิดดินให้ชุ่มชื้น และที่ภาคใต้ใช้ได้ดีเพราะว่าฝนตกมาก ทำให้เกิดความเหนียว ทำให้เส้นเหนียว และอยู่ได้เป็นร้อยปี อันนี้ที่คนญี่ปุ่นบอกว่าเป็นลักษณะพิเศษของย่านลิเภา ถ้าแม้นว่าทิ้งให้แก่กับต้นแล้ว ใยของเขาจะเหนียวอยู่ได้เป็นร้อยปี โดยที่ไม่มีตัวแมลงมากัดกินเลย เพราะฉะนั้นพูดได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเมืองไทย พระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ 11 สิงหาคม 2524 จากพระราชเสาวนีย์ข้างต้นนั้นจัดได้ว่า เป็นจุดริเริ่มที่ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นภาคใต้รู้จักและหันมาสนใจแปรรูป “ย่านลิเภา”หรือ “หญ้าลิเภา”ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นกันมากขึ้น สำหรับ“ย่านลิเภา”นั้นเป็นพืชประเภทเถาวัลย์ มีลักษณะเป็นเถา ลำต้นจะโตประมาณก้านไม้ขีด หรือหลอดกาแฟ เมื่อโตเต็มที่จะยาวประมาณ 2 วา ใบของย่านลิเภาจะมีลักษณะเป็นใบเล็กๆ และหงิกงอชอบขึ้นอยู่ตามชายป่าละเมาะ และจะเลื้อยขึ้นพันอยู่กับต้นไม้อื่นๆ เกาะอยู่เหนือต้นไม้อื่น จึงทำให้มองเห็นได้ง่าย มีมากทางภาคใต้ แหล่งที่พบมาก คือ ที่จังหวัด นครศรีธรรมราช สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส เป็นต้น โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งถือได้ว่ามีกลุ่มคนมีฝีมือเรื่องงานจักสานย่านลิเภาอยู่มาก จึงมีกลุ่มจักสานย่านลิเภาเกิดขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราชหลากหลายกลุ่ม ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์และความงดงามโดดเด่นเฉพาะกลุ่มกันไป เช่นที่ ห้างเพชรทองบุญรัตน์ และกลุ่มจักสานย่านลิเภาบ้านหนองบัว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งล้วนแต่เป็นแหล่งผลิตสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดในฐานะเป็นOTOPระดับ 5 ดาว การนำย่านลิเภามาดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ส่งผลให้ชาวบ้านมีรายได้หลักจากการทำผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาตกเดือนละหลายพันบาท ด้วยความที่มีคุณสมบัติพิเศษของย่านลิเภาคือ มีลำต้นเหนียว ทนทาน จึงเหมาะที่จะนำมาสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋าถือ เชี่ยนหมาก กระเป๋าหนีบ เป็นต้น กว่าที่เราจะได้ผลิตภัณฑ์จากย่านลิเภาสักชิ้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก เพราะมีกรรมวิธีและขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนไม่แพ้ง่ายหัตถกรรมชนิดอื่นเริ่มตั้งแต่นำย่านลิเภามาฉีกให้เป็นเส้น แล้วนำไปแช่น้ำให้ชุ่ม นำขึ้นมาฉีกให้เป็นเส้นฝอยๆ นำฝากระป๋องนมมาเจาะ 5 รู ให้มีขนาดเรียงลำดับจากช่องใหญ่ไปยังช่องเล็ก ที่สุด นำย่านลิเภาที่เป็นเส้นฝอยมารูดทีละช่องจนถึงช่องที่เล็กสุด จะได้ลิเภาเส้นเล็ก ทำทีละมากๆ เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ โดยส่วนที่ ยังไม่ใช้ให้ใส่ถุงพลาสติกแช่ในตู้เย็นเพื่อเก็บความชื้นไว้ จะง่ายต่อการสานเพราะเมื่อเส้นลิเภาแห้งจะสานได้ยาก จากนั้นใช้หวายเป็นแกนนำในการสาน โดยนำฝากระป๋องนมมาเจาะ 5 รู ให้มีขนาดเรียงลำดับจากช่องใหญ่ไปยังช่องเล็กสุด คนละอันกับฝากระป๋องนมสำหรับทำเส้นลิเภา เมื่อได้หวายตามขนาดที่ต้องการนำหวายมาขดเป็นวงรีเพื่อทำก้นกระเป๋าหรือผลิตภัณฑ์ นำเส้นลิเภาที่เตรียมไว้มาสาน โดยใช้เหล็กปลายแหลมเจาะนำที่หวายให้เป็นรู แล้วนำเส้นลิเภาสอดเข้าไป โดยใช้วิธีสานสลับเดินหน้า เวลาสานมุมโค้งต้องใช้ความละเอียด สานจนได้ขนาดกระเป๋าหรือผลิตภัณฑ์ตามต้องการ เมื่อสานก้นกระเป๋าหรือผลิตภัณฑ์ขนาดที่ต้องการแล้ว นำหวายมาขดเป็น วงรีวางให้เหลื่อมกับก้นกระเป๋าหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ถ้าต้องการ ให้มีลวดลายใช้วิธีสานกลับด้านเส้นลิเภา ซึ่งจะมีสีอ่อนกว่าเล็กน้อย ระหว่างสาน ใช้มีดขูดเส้นลิเภาเพื่อเพิ่มความเรียบ สำหรับการทำฝากระเป๋า การขึ้นต้นแบบเดียวกับการขึ้นก้นกระเป๋า เมื่อสานย่านลิเภาได้ 2-3 รอบ วางเส้นหวายชั้นต่อไปให้เหลื่อมเหมือนเป็นชั้นลายพื้นก็ได้ สำหรับขนาดก็ขึ้นอยู่กับตัวกระเป๋า ขอบฝาวางหวายในลักษณะเดียวกับการขึ้นก้นกระเป๋าให้มีขนาดกว้าง 1 นิ้ว สานหูกระเป๋าโดยใช้หวายเป็นแกน 2-3 เส้น สานลิเภาสลับกันให้เป็นลายขดกันให้เป็นเส้นโค้ง เมื่อได้ตัวกระเป๋าหรือผลิตภัณฑ์แล้วนำไปกรุผ้าไหมหรือผ้ากำมะหยี่ขั้นตอนสุดท้ายนำไปติดเครื่องทองเหลือง หรือถมทองตรงที่เปิดปิดและบานพับด้านหลังขั้นตอนทั้งหมดนี้ต้องใช้ความพยายาม ความอดทนอย่างยิ่งจึงจะได้มาซึ่งชิ้นงานสักหนึ่งชิ้นที่ทรงคุณค่าและปราณีต สำหรับผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์จากย่านลิเภาแต่ยังเกรงอยู่ว่าจะยากต่อการเก็บรักษามีเคล็ดลับคือเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาไปใช้แล้วนั้นหลังใช้ให้เช็ดด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆ นำมาผึ่งแดดประมาณ 20-30 นาที และเก็บใส่ถุงให้มิดชิดและอย่านำสิ่งของวางทับบนเครื่องจักสานย่านลิเภาเพราะจะทำให้เสียรูปทรงได้
ที่มาhttp://www.lcc.ac.th/forum/board_posts.asp?FID=187

งานจักสานย่านลิเภา

ย่านลิเภา เป็นพืชพันธุ์ไม้เถาจำพวกเฟิร์น อยู่ในสกุล Lygodium Flexuosum อยู่ในวงศ์ Chizaeaceae มีอยู่หลายชนิด เช่น L.Circinatum, Lflexuosum SW. เป็นต้น คำนี้สันนิฐานว่าน่าจะเป็นคำมาจากภาษามลายูว่า ลิบู ซึ่งแปลว่า จิ้งจก เพราะใบของลิเภา มีลักษณะเป็นหยักคล้ายตีนจิ้งจกก็อาจเป็นได้ ลักษณะโดยทั่วไปของลิเภา ก็คือ เป็นเถาขนาดเล็ก เลื้อยเกาะต้นไม้อื่นในป่า หรือสุมทุมพุ่มไม้ เป็นสายรโยงรยางค์ไปทั่วบริเวณป่า เมื่อสดเถาจะมีสีเขียว เมื่อเด็ด หรือตัดวางให้แห้งจะเป็นสีน้ำตาล ใบมีลักษณะเป็นหยักยาว โคนใบใหญ่ ปลายใบเล็กเรียวแหลม เส้นในเป็นเส้นนูน ริมใยเป็นหยักๆ ฟันปลาถี่ละเอียดทั้งสองข้าง เถาหนึ่งๆ มักมี 4-6 ใบ แต่ละเถายาวประมาณ 1-2 เมตร มีขนาดโตเท่าก้านไม้ขีดไฟ เถานี้เองซึ่งชาวบ้านภาคใต้ตัดเอามาทำเป็นภาชนะเรียกว่า "ย่านลิเภา" งานหัตถกรรมลิเภามี 2 แบบ คือ 1. แบบทึบ ใช้วิธีสอด และพันโดยการพลิกด้านหน้า และด้านหลังของเส้นลิเภา เพื่อทำให้เกิดลาย โดยจะมีวัสดุเพียงย่านลิเภา และหวาย 2.แบบโปร่ง ใช้วิธีขัด และยกลาย ซึ่งจะมีลักษณะเดียวกับการทอผ้า คือจะมีดอกยืนและเส้นนอน
ที่มาhttp://www.thaitambon.com/ProvincialStarOTOP/PSO-LP13/Nakhonsithammarat-PSO1L.htm